2024.05.31การหางาน • การสัมภาษณ์งาน

ทำไมประกาศรับสมัครงานแล้วไม่มีคนสมัคร ?

ปัจจุบันในการแข่งขันของตลาดแรงงาน ไม่ใช่แค่คนหางานเท่านั้นที่รู้สึกว่าหางานยาก แต่ฝั่งองค์กรเองก็ประสบปัญหาหาคนยากเช่นกัน  ทั้ง ๆ ที่ลงประกาศงานไปนานแล้วแต่ก็ยังได้ใบสมัครน้อย ทำให้หาพนักงานไม่ได้สักที  แน่นอนว่าอาจจะมาจากประกาศงานที่ไม่มีดึงดูดความสนใจของผู้สมัคร เรซูเม่ที่เข้ามาอาจได้น้อยและอาจจะไม่ตรงด้วย ซึ่งปัญหานี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

1.ข้อมูลบนประกาศงานไม่ครบถ้วน

ประกาศงานที่ดี คือ ประกาศงานที่มีข้อมูลครบถ้วนและชัดเจน ผู้สมัครอ่านแล้วเข้าใจ ทั้งข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับบริษัทและวิธีการสมัคร ที่สำคัญคือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงาน เช่น หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ คุณสมบัติของผู้สมัคร จำนวนวันที่ต้องทำงานต่อสัปดาห์ เวลาเข้า-ออกงาน เงินเดือนและสวัสดิการ นอกจากนี้ หากคุณสมบัติที่ระบุในประกาศแคบเกินไป จำกัดกลุ่มผู้สมัครที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ลองพิจารณาปรับคุณสมบัติบางประการให้กว้างขึ้น

นอกจากความครบถ้วนแล้ว ความชัดเจนก็เป็นสิ่งสำคัญ เช่น  ระบุหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบว่า ‘งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย’ เพราะผู้สมัครอาจคิดว่าเป็นงานที่นอกเหนือจากหน้าที่ ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องรับผิดชอบ และมองว่าบริษัทให้ทำงานแบบจับฉ่าย ดังนั้นองค์กรควรหลีกเลี่ยงการใส่รายละเอียดงานแบบนี้   ในทางตรงข้าม การใส่ข้อมูลที่เยอะมากเกินไปก็อาจทำให้ผู้หางานไม่สนใจประกาศงานของเราด้วยเช่นกัน 

2.ช่องทางการประกาศรับสมัครงานไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย 

เนื่องจากการประกาศรับสมัครงานสามารถทำได้หลากหลายช่องทาง ซึ่งแต่ละช่องทางก็มีข้อดี ข้อเสียและกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน  ดังนั้นที่บริษัทเราไม่มีคนสมัครหรือคนสมัครน้อย สาเหตุเป็นเพราะไม่ได้ประกาศรับสมัครงานในช่องทางที่ผู้สมัครงานที่เหมาะสมในตำแหน่งงานนั้นๆจะเห็นหรือตรงกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นเลือกโพสต์ประกาศงานในแต่ละช่องทาง บนเว็บไซต์หางาน  เว็บไซต์ของบริษัท หรือ โซเชียลมีเดีย

นอกจากนี้ ช่องทางประชาสัมพันธ์ก็สำคัญมาก ถ้าหลากหลายก็มีโอกาสมากกว่า แต่ต้องเลือกให้ตรงกลุ่มเป้าหมายด้วย เช่น Facebook Group ,Line Open Chat ฯลฯ และอย่าลืมระบุข้อมูลช่องทางการติดต่อกลับให้ถูกต้องด้วย

3.หน้าที่งานกับชื่อตำแหน่งไม่สอดคล้องกัน 

ตำแหน่งงานถือเป็นคีย์เวิร์ดสำคัญที่ผู้สมัครใช้ในการเสิร์ชหางานที่กำลังเปิดรับ ถ้าเข้ามาอ่าน Job Description แล้วพบว่ารายละเอียดงานไม่ตรงกับชื่อตำแหน่ง หรือชื่อตำแหน่งมีแค่อย่างเดียวแต่ต้องรับภาระงานควบหลายตำแหน่ง ทำในส่วนที่ไม่ใช่งานของตำแหน่งตัวเองด้วย เช่น ตำแหน่งล่ามภาษาญี่ปุ่นแต่ต้องทำทั้งงานเลขานุการ จัดซื้อและงานธุรการ แบบนี้ก็ไม่มีคนอยากสมัครงานแน่ๆ  ดังนั้น องค์กรต้องใส่ใจกับการกำหนดหน้าที่ของแต่ละตำแหน่ง เพราะรายละเอียดงานถือเป็นปัจจัยแรก ๆ ที่ผู้สมัครจะสนใจในงานนั้นๆ 

แนะนำเพิ่มเติม** บนประกาศงานควรใช้ชื่อตำแหน่งงานที่เข้าใจง่ายและเป็นที่รู้จักในการค้นหา

 

4.ค่าตอบแทนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

ค่าตอบแทนถือเป็นปัจจัยสำคัญในการหางาน โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่คนทำงานก็ยิ่งมองหางานที่มีค่าตอบแทนเพียงพอกับการใช้ชีวิตและไลฟ์สไตล์ส่วนตัว หากประกาศงานแล้วไม่มีคนสมัคร เราเขียนเงินเดือนสำหรับงานนั้น ๆ น้อยกว่าที่ควรเป็นหรือเปล่า  แม้ว่าแต่ละองค์กรจะมีโครงสร้างเงินเดือนแต่ก็ต้องดูด้วยว่า Range ที่เรากำหนดไว้เหมาะสมและสอดคล้องกับตลาดแรงงานด้วย  หรืออาจลองเทียบดูกับประกาศงานของบริษัทอื่น ๆ ด้วยว่าแต่ละที่ให้ค่าตอบแทนพนักงานเท่าไหร่

5.ภาษาที่ใช้แบบกันเองและประกาศงานแบบเดิมๆ

โดยการใช้คำพูดแบบกันเองในประกาศงาน เพื่อต้องการสร้างภาพลักษณ์ให้ดูเป็นองค์กรที่มีบรรยากาศสบายๆ เข้าถึงง่าย ซึ่งคำพูดที่ดูเป็นกันเองเกินไปจนอาจทำให้องค์กรดูไม่เป็นมืออาชีพได้ แทนที่จะทำให้ผู้สมัครรู้สึกอยากสมัครงาน กลับรู้สึกกับองค์กรในแง่ลบได้  ดังนั้น การประกาศงานต้องเลือกใช้คำที่เหมาะสมและสามารถสื่อถึงผู้สมัครในแต่ละตำแหน่งงานได้ง่าย  ตัวอย่าง เช่น เรากำลังมองหาพนักงานที่มีไฟในการทำงานสูง อาจเลือกคำที่สื่อในแง่บวกแทน เช่น บริษัทกำลังมองหาคนมีที่มีแพชชัน มุ่งมั่นกับการทำงาน เป็นต้น

รู้ไว้ก่อน !  “บริษัทเราอยู่กันแบบสบาย ๆ สไตล์ครอบครัว/พี่น้อง”  ประโยคคลาสสิคแต่ไม่ต้องเขียนบนประกาศงานดีกว่า (เพราะผู้รับสารอาจตีความว่าบริษัทมีการทำงานที่ไม่มีระบบก็เป็นได้)

ข้อแนะนำ ** เราอาจจะออกแบบการประกาศงานที่แตกต่างกันในแต่ละตำแหน่งงานเพื่อดึงดูดและเข้าถึงความสนใจของผู้หางานแต่ละช่วงวัย

6.สวัสดิการไม่น่าสนใจสำหรับคนหางาน

สวัสดิการก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้นอกเหนือจากเรื่องเงินเดือน  เพราะปัจจุบันการรับสมัครพนักงานมีการแข่งขันมากกว่าเดิมมาก  ดังนั้นบริษัทต้องพยายามเขียนสวัสดิการที่น่าสนใจขึ้นมาดึงดูดผู้หางาน ซึ่งถ้าองค์กรของเรามีเพียงสวัสดิการทั่ว ๆ ไป ไม่ได้มีอะไรพิเศษ แนะนำองค์กรควรคิดและออกแบบสวัสดิการของบริษัทที่น่าสนใจเพิ่มมากขึ้นดึงดูดผู้หางาน  ตัวอย่างเทรนด์การทำงานและสวัสดิการที่คนหางานสนใจ เช่น การ Work from Home สวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพจิต สวัสดิการเกี่ยวกับออฟฟิศซินโดรม เป็นต้น

แนะนำเพิ่มเติม ** ไม่จำเป็นต้องใส่สวัสดิการที่เป็นประกันสังคม วันหยุดตามประเพณี หรือวันลาตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด เพราะมันเป็นสวัสดิการพื้นฐานตามกฎหมายอยู่แล้ว ถ้าจะใส่ต้องเป็นสวัสิการที่อ่านแล้วน่าสนใจมากๆ

ข้อแนะนำในการแก้ไขประกาศงานให้น่าสนใจมากขึ้น

1.ทบทวนประกาศรับสมัครงานของคุณ: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณสมบัติ เงินเดือน สวัสดิการ และ คำอธิบายงานนั้นถูกต้อง ดึงดูด และ ตรงประเด็น

2.หากคุณสมบัติที่ระบุในประกาศแคบเกินไป จำกัดกลุ่มผู้สมัครที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ลองพิจารณาปรับคุณสมบัติบางประการให้กว้างขึ้น

3.โพสต์ประกาศรับสมัครงานในช่องทางที่เหมาะสม: โพสต์ประกาศงานบนเว็บไซต์หางาน เว็บไซต์ของบริษัท โซเชียลมีเดีย และ กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้อง

4.โปรโมทบริษัทของคุณ: สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัทของคุณบนเว็บไซต์ บัญชีโซเชียลมีเดีย และ รีวิวออนไลน์ เน้นย้ำถึงจุดแข็งที่ไม่เหมือนใครของบริษัท:วัฒนธรรมองค์กร และ โอกาสในการเติบโต

5.เสนอเงินเดือนและสวัสดิการที่แข่งขันได้: เสนอเงินเดือนและสวัสดิการที่ดึงดูดผู้สมัครที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

6.ขั้นตอนการสมัครงานเน้นง่าย ไม่ยุ่งยาก ผู้หางานสามารถใช้กับมือถือได้เลยก็จะเพิ่มโอกาสให้เราได้เรซูเม่มากขึ้นอีกด้วย

 

สนใจหางาน อยากทำงานบริษัทญี่ปุ่น มาลงทะเบียนสมัครงานกับเพอร์ซันแนลฯ   ฟรี!! ไม่มีค่าใช้จ่าย
ต้องการฝากประวัติ https://www.personnelconsultant.co.th/jobseeker/register_jobseeker/
ส่งเรซูเม่ (ภาษาอังกฤษ) jobs@personnelconsultant.co.th

#ประกาศรับสมัครงาน #ประกาศงาน #jobposting #jobads #ช่องทางหางาน #socialmedia #หางาน #สมัครงาน #หางานบริษัทญี่ปุ่น #ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
#จัดหางานเพอร์ซันแนลคอนซัลแตนท์ #personnelconsultant