2024.08.16การหางาน • การสัมภาษณ์งาน

ระบบ ATS กับการเขียน Resume ให้ถูกเรียกสัมภาษณ์

ปัจจุบันพูดได้ว่าเป็นยุคที่ AI เข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการสรรหาพนักงาน หลายบริษัทหันมาใช้ AI มากขึ้น และหนึ่งในสิ่งที่บริษัทใหญ่ๆ นำมาใช้คือ ระบบ Applicant Tracking System (ATS) โดยนำมาช่วยสแกน Resumeในกระบวนการจ้างงานและสรรหาบุคคล 

ATS คืออะไร และสำคัญกับการหางานอย่างไร

ATS ย่อมาจากคำว่า  Applicant Tracking System  เป็นระบบติดตามผู้สมัครงานที่องค์กรใช้ในการจัดการกระบวนการสรรหาบุคลากร ATS จะช่วยในการเก็บรวบรวม คัดกรอง และจัดการใบสมัครที่ได้รับจากผู้สมัครงาน ซึ่งระบบนี้ช่วยประหยัดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับทีม HR ในการเลือกผู้สมัครที่เหมาะสมสำหรับตำแหน่งงาน

ความสำคัญของ ATS ในการหางาน

  1. การกรองผู้สมัคร ใช้ฟิลเตอร์และคีย์เวิร์ด (Keyword) ในการกรองใบสมัคร หรือ เรซูเม่เบื้องต้น เพื่อเลือกผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตรงกับตำแหน่งงาน
  2. การจัดเก็บข้อมูล ช่วยในการจัดเก็บและจัดการข้อมูลผู้สมัครอย่างเป็นระบบ ง่ายต่อการค้นหาและเรียกดูในอนาคต
  3. การสื่อสาร  ช่วยในการสื่อสารกับผู้สมัครอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการแจ้งเตือน การนัดสัมภาษณ์ และการติดตามผล

การทำเรซูเม่ให้เหมาะสมกับระบบ ATS

1.ใช้คีย์เวิร์ด (Keywords) ระบบ ATS จะมองหาทักษะที่นายจ้างต้องการในเรซูเม่ ดังนั้นให้ใส่คีย์เวิร์ดอย่างน้อย 3-5 คำ โดยคีย์เวิร์ดมักอยู่ใน job description ของตำแหน่งงานนั้นๆซึ่งผู็หางานสามารถดูได้จากโพสต์รับสมัครงานและใส่คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานในเรซูเม่ เช่น ทักษะที่จำเป็น ประสบการณ์การทำงาน และคุณสมบัติอื่น ๆ ที่นายจ้างต้องการ

ตัวอย่างเช่น : 

  • ตำแหน่งที่สมัครคือ ” Software Engineer” คีย์เวิร์ดที่ควรมี เช่น ” Software Development “, ” JavaScript”,  “Python”,  “C++”,  “PHP” เป็นต้น 
  • ตำแหน่งที่สมัครคือ “Marketing Manager” ควรคัดคีย์เวิร์ดที่ควรมีเช่น “Digital Marketing”, “SEO”, “Content Marketing”, “Social Media Management”, “Brand Strategy” เป็นต้น

นอกจากนี้ อย่าใช้สิ่งที่ ATS ไม่สามารถอ่านได้ เช่น ตัวย่อ เพราะระบบอาจไม่เข้าใจว่าตัวย่อนั้นหมายถึงอะไร ดังนั้นจึงควรเลี่ยงการใช้คำศัพท์ทางเทคนิคให้น้อยที่สุดและควรสะกดคำให้ถูกต้องด้วย

2.รูปแบบที่เรียบง่าย 

ระบบ ATS ส่วนมากจะสแกนเรซูเม่จากซ้ายไปขวา หากเรซูเม่เป็นแบบคอลัมน์แนวตั้ง ระบบ ATS อาจจะอ่านข้อมูลได้ไม่ครบถ้วน ควรใช้รูปแบบหัวข้อที่เป็นแนวนอน ถ้ามีหัวข้อย่อยให้ใช้สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย (Bullet Point)  ในการเขียนเรซูเม่ หลีกเลี่ยงการใช้กราฟิก ตาราง หรือรูปภาพที่อาจทำให้ ATS ไม่สามารถอ่านข้อมูลได้  

3.ใช้ฟอนต์มาตรฐาน แนะนำให้ ใช้ฟอนต์มาตรฐาน อ่านง่าย เช่น Arial, Times New Roman และขนาดฟอนต์ที่เหมาะสม แบ่งเรซูเม่ออกเป็นหมวดหมู่ชัดเจน เช่น “ประสบการณ์การทำงาน” “การศึกษา” และ “ทักษะ” การมีหัวข้อที่ชัดเจนช่วยให้ ATS สแกนหาข้อมูลสำคัญได้ง่ายขึ้น  

4.จัดเรียงข้อมูลให้เป็นระเบียบ การออกแบบและการจัดวางไม่ควรซับซ้อน การทำให้เรียบง่ายที่สุดจะช่วยให้ ATS อ่านข้อมูลได้ง่ายขึ้น  การทำเรซูเม่ควรจัดเรียงข้อมูลให้เรียบร้อย ใช้หัวข้อที่ชัดเจนสำหรับแต่ละส่วนของเรซูเม่ เช่น ประสบการณ์การทำงาน การศึกษา ทักษะ ฯลฯ แนะนำให้จัดวางแบบ Chronological  เน้นการแสดงประสบการณ์การทำงานตามลำดับเวลา เริ่มจากประสบการณ์ล่าสุดไล่ลงไป  ซึ่งการแบ่งเรซูเม่ออกเป็นหมวดหมู่ชัดเจน เช่น “ประสบการณ์การทำงาน” “การศึกษา” และ “ทักษะ” ที่ชัดเจนช่วยให้ ATS สแกนหาข้อมูลสำคัญได้ง่ายขึ้น  หลีกเลี่ยงการใช้สัญลักษณ์พิเศษ  การใช้สัญลักษณ์พิเศษอาจทำให้ ATS ไม่สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

สรุป

สิ่งที่ระบบ ATS ให้ความสำคัญ

– คีย์เวิร์ดสำคัญ (Keyword)

– รูปแบบและเค้าโครง (Formatting and layout)

– การจัดเรียงข้อมูล

 

คำแนะนำเพิ่มเติม

  • อ่านรายละเอียดการรับสมัครงาน (Job description) และนำคีย์เวิร์ดสำคัญๆ มาปรับใช้ในเรซูเม่ของเรา
  • ควรทำ Resume ใหม่ถ้ารายละเอียดงานเปลี่ยน เพราะคีย์เวิร์ที่ใช้ก็จะเปลี่ยนไปตามรายละเอียดของงานเช่นกัน
  • บันทึกเรซูเม่เป็นไฟล์ PDF *ตรวจเช็คไฟล์อีกครั้งว่าไม่ใช่แบบรูปภาพเพราะระบบATS อาจไม่สามารถอ่านไฟล์แบบรูปภาพได้

การหางานไม่ใช่แค่ผู้สมัครที่ดีที่สุดที่ได้งาน แต่เป็นผู้ที่มีเรซูเม่แมทชิ่งกับตำแหน่งงานและ ระบบ ATS มากกว่าผู้สมัครงานที่ดีที่สุด ผู้หางานต้องใส่ใจและให้ความสำคัญกับการทำเรซูเม่มากขึ้น เมื่อหลายๆบริษัทนำระบบ ATS  มาใช้ ดังนั้นผู้หาจะต้องเรียนรู้และทำเรซูเม่ให้สอดคล้องกับระบบ  ATS  เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการผ่านการคัดกรองเบื้องต้น และได้รับการเรียกสัมภาษณ์มากขึ้น

 

สนใจหางาน อยากทำงานบริษัทญี่ปุ่น มาลงทะเบียนสมัครงานกับเพอร์ซันแนลฯ   ฟรี!! ไม่มีค่าใช้จ่าย
ต้องการฝากประวัติ https://www.personnelconsultant.co.th/jobseeker/register_jobseeker/
ส่งเรซูเม่ (ภาษาอังกฤษ) jobs@personnelconsultant.co.th