2025.04.24การทำงาน • ทำงานบริษัทญี่ปุ่น

Generalist VS Specialist สไตล์การทำงานแบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ

Generalist VS Specialist  สไตล์การทำงานแบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ

ในยุคที่โลกการทำงานเปลี่ยนแปลงเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ คำถามหนึ่งที่หลายคนอาจเคยได้ยิน หรืออาจกำลังตั้งคำถามกับตัวเองก็คือ  “เราควรเป็น Generalist หรือ Specialist ?” บทความนี้จะพาคุณมาทำความเข้าใจความแตกต่าง จุดแข็ง จุดอ่อนของทั้งสองแนวทาง พร้อมคำแนะนำเบื้องต้นว่าแบบไหนที่เหมาะกับสายงานของคุณ

Generalist คือ คนที่มีความรู้และทักษะในหลาย ๆ ด้าน สามารถปรับตัวเข้ากับงานหลากหลายประเภทได้ดี สามารถทำงานด้านเอกสาร ประสานงาน และวางแผนได้ในคนเดียว ตัวอย่างอาชีพ Generalist เช่น Project coordinator , Startup Founder , HR Generalist , General Affairs เป็นต้น
จุดเด่นของ Generalist
– ปรับตัวได้ดีเมื่อองค์กรมีการเปลี่ยนแปลง
– เหมาะกับบทบาทบริหารหรือผู้จัดการที่ต้องดูแลหลายฝ่าย
– มีโอกาสก้าวหน้าในสายงานได้กว้าง
– เข้าใจภาพรวมขององค์กรได้ดี

ข้อควรพิจารณา อาจขาดความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ทำให้แข่งขันกับ Specialist ได้ยากในบางสายงานอาจจะต้องใช้เวลาในการเรียนรู้หลายสิ่งพร้อมกัน

Specialist คือ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในด้านใดด้านหนึ่ง มีความรู้ลึกและสามารถแก้ปัญหาเฉพาะด้านได้อย่างมืออาชีพ ตัวอย่างอาชีพ Specialist เช่น Data Analyst , Software Developer , วิศวกรเฉพาะด้าน (Mechanical, Electrical) , นักบัญชี, ผู้ตรวจสอบบัญชี , UX/UI Designer เป็นต้น
จุดเด่นของ Specialist
– เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานเฉพาะกลุ่ม เช่น IT, Data, วิศวกรรม, การแพทย์
– มีแนวโน้มได้ค่าตอบแทนสูง เมื่อมีความสามารถเฉพาะที่โดดเด่น
– พัฒนาทักษะลึกได้อย่างรวดเร็ว
ข้อควรพิจารณา อาจเผชิญความเสี่ยงหากอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลง หรือทักษะไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป โอกาสขยายบทบาทหรือเปลี่ยนสายงานอาจน้อยกว่า Generalist

เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของ Generalist กับ Specialist  

ข้อดีของคนแบบ Specialist ก็คือ มีแนวโน้มที่จะเรียกเงินเดือนได้สูง เพราะความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่สั่งสมมา แต่เหล่า Specialist ก็มีแนวโน้มที่จะหางานยากในช่วงเศรษฐกิจมีปัญหา เพราะหลาย ๆ บริษัทมักจะต้องทำการ Lean องค์กร ทำให้อยากได้คนที่เป็น Generalist มากกว่า เพราะมีความรู้แบบ “เปิด” คือสามารถทำงานได้หลายอย่าง เพื่อประหยัดค่าใช่จ่าย และสามารถทำให้องค์กรเคลื่อนตัวได้เร็วนั่นเอง

นอกจากนี้แล้ว ขนาดขององค์กรที่มีส่วนสำคัญในการคัดเลือกคนเข้าทำงานด้วย โดยองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการแบ่งแผนกและสายงานอย่างชัดเจน มักจะต้องการคนที่รู้ลึกและมีทักษะเฉพาะทาง เพื่อมารับผิดชอบเนื้องานที่เฉพาะเจาะจง รวมถึงความสามารถในการให้ค่าตอบแทนของบริษัทใหญ่ที่สามารถจ่ายให้กับเหล่า Specialist ค่าตัวแพงได้

ในขณะที่องค์กรขนาดเล็กหรือ บริษัท Startup มีมักจะเลือกคนที่มีความรู้แบบกว้าง ๆ รู้รอบหลาย ๆ ด้าน หรือ Generalist เข้ามาทำงานด้วยเพราะคนเหล่านี้สามารถทำงานได้หลายตำแหน่ง ปรับตัวเก่ง มีความคล่องตัวสูง มี Transferable Skills หรือทักษะความรู้ที่สามารถนำใช้ในงานได้หลากหลาย เช่น ทักษะการแก้ปัญหา หรือทักษะการคิดเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งทักษะเหล่านี้ไม่ได้เป็นความรู้เฉพาะทาง แต่สามารถนำไปใช้กับการทำงานได้หลากหลาย และยังเป็นลักษณะของคนที่จะสามารถนำมาฝึกฝนต่อได้ (Trainable) ซึ่งมักจะมีเงินเดือนที่ต่ำกว่าคนที่เป็น Specialist แล้ว

บริษัทต้องการคนแบบไหน

อันนี้เป็นคำถามที่อาจจะไม่ได้มีคำตอบที่ตายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดองค์กร โครงสร้าง ธุรกิจและวัฒนธรรมองค์กรแต่ละที่ แต่โดยส่วนมากแล้ว องค์กรขนาดเล็กหรือ บริษัท Startup มีมักจะเลือกคนที่มีความรู้แบบกว้าง ๆ รู้รอบหลาย ๆ ด้าน หรือ Generalist เข้ามาทำงานด้วยเพราะคนเหล่านี้สามารถทำงานได้หลายตำแหน่ง ปรับตัวเก่ง มีความคล่องตัวสูง มี Transferable Skills หรือทักษะความรู้ที่สามารถนำใช้ในงานได้หลากหลาย เช่น ทักษะการแก้ปัญหา หรือทักษะการคิดเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งทักษะเหล่านี้ไม่ได้เป็นความรู้เฉพาะทาง แต่สามารถนำไปใช้กับการทำงานได้หลากหลาย และยังเป็นลักษณะของคนที่จะสามารถนำมาฝึกฝนต่อได้ (Trainable) 

ส่วนบริษัทใหญ่จะมีการแบ่งแผนกและสายงานอย่างชัดเจน มักจะต้องการคนที่รู้ลึกและมีทักษะเฉพาะทาง เพื่อมารับผิดชอบเนื้องานที่เฉพาะเจาะจง รวมถึงความสามารถในการให้ค่าตอบแทนของบริษัทใหญ่ที่สามารถจ่ายให้กับเหล่า Specialist ค่าตัวแพงได้ ก็จะมองหาและต้องการพนักงานแบบ Specialist เพราะต้องการความรู้ทักษะ ความเชี่ยวชาญเฉพาะและประสิทธิภาพในแต่ละด้าน

แบบไหนเหมาะกับตัวเรา

ก่อนอื่นต้องถามและสำรวจตัวเองก่อนว่า เราชอบ อยากทำงานแบบไหนและมีเป้าหมายในการทำงานอย่างไร 

  1. 1.หากคุณชอบทดลองสิ่งใหม่ๆ เรียนรู้เร็ว อยากทำงานหลายบทบาทและเติบโตในสายบริหาร→ Generalist อาจเหมาะกว่า
  2. 2.หากคุณหลงใหลในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ชอบลงลึกกับงาน และอยากเป็นผู้เชี่ยวชาญในสายอาชีพ → Specialist คือเส้นทางของคุณ

แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงเริ่มต้นอาชีพ หลายคนเริ่มจากการเป็น Generalist เพื่อเรียนรู้หลายด้าน แล้วค่อยๆ พัฒนาไปเป็น Specialist ในสายที่ถนัด หรือในบางกรณี เราอาจเป็น Specialist ก่อน แล้วค่อยขยายทักษะให้กว้างขึ้นแบบ Generalist ก็ได้เช่นกัน ดังนั้นจึงไม่มีคำตอบที่ตายตัวว่า Generalist หรือ Specialist แบบไหนดีกว่า สิ่งที่สำคัญคือ เราต้องรู้เข้าใจจุดแข็งของตัวเองและสามารถปรับตัวให้เหมาะกับงานที่ทำ

แต่ถ้าหากคุณกำลังมองหาโอกาสงานใหม่ ไม่ว่าคุณจะเป็น Generalist หรือ Specialist เรามีตำแหน่งที่หลากหลายให้คุณเลือกสมัครง่าย ๆ ที่หน้าเว็บไซต์ของเรา คลิกที่นี่ 

ที่มา blog.jobthai  jobsdb

 

บริษัทจัดหางาน เพอร์ซันแนล คอนซัลแตนท์ฯ เราเป็นบริษัทจัดหางานญี่ปุ่นในกรุงเทพ  ให้บริการจัดหางานและสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถทั้งชาวไทยและญี่ปุ่นมาเป็นเวลากว่า 30 ปี ท่านที่สนใจหางาน อยากทำงานบริษัทญี่ปุ่น ไทยและต่างชาติ  ลงทะเบียนสมัครงานกับเพอร์ซันแนลฯ   ฟรี!! ไม่มีค่าใช้จ่าย
ต้องการฝากประวัติ https://www.personnelconsultant.co.th/jobseeker/register_jobseeker/
สอบถามโทร 02-2608454 หรือส่งเรซูเม่ (ภาษาอังกฤษ) jobs@personnelconsultant.co.th