Employer Branding ที่ใช่…ช่วยลดต้นทุนการจ้างได้อย่างไร
Employer Branding คืออะไร?
Employer Branding คือ การสร้างภาพลักษณ์และส่งมอบคุณค่าขององค์กรให้กับพนักงานและคนภายนอกได้รับรู้ ซึ่งหมายถึง ค่านิยม (Value) วัฒนธรรมองค์กร (Culture) และคุณค่าที่พนักงานจะได้รับเมื่อร่วมทำงานในองค์กร (Employee Value of Preposition) องค์กรที่มี Employer Brand ที่แข็งแกร่งจะมีความโดดเด่น มีภาพลักษณ์ของการเป็นองค์กรในฝัน เป็นตัวเลือกลำดับต้นๆ ที่ผู้สมัครหรือพนักงานในองค์กรเองอยากร่วมงานด้วยในระยะยาว
การสร้างแบรนด์นายจ้าง หรือ Employer Branding นั้น มีประโยชน์ทั้งในด้านการดึงดูด สรรหา อีกทั้งมีส่วนสำคัญในการรักษาพนักงานเก่ง ๆ ไว้กับบริษัท มีสถิติออกมาว่า 75% ของผู้สมัครงานจะหาข้อมูลเกี่ยวกับชื่อเสียงหรือภาพลักษณ์ของบริษัทก่อนที่จะตัดสินใจสมัครงาน โดยลูกจ้าง 69% เลือกที่จะปฏิเสธ offer งานจากองค์กรที่มีแบรนด์นายจ้างไม่ดี ถึงแม้ว่าพวกเขาจะยังว่างงานอยู่ก็ตาม และ 83% ของพนักงานยังมีแนวโน้มที่จะออกจากบริษัทเดิมหากได้รับ offer งานจากบริษัทที่มี Employer Brand ที่ดีกว่าด้วย
ในยุคที่การแข่งขันเรื่อง “คนเก่ง” รุนแรงขึ้นทุกปี องค์กรจำนวนมากต่างทุ่มงบโฆษณา ลงประกาศงาน หรือใช้บริการเอเจนซี่เพื่อหาพนักงานที่เหมาะสม แต่รู้หรือไม่ว่า หนึ่งในกลยุทธ์ที่สามารถ “ลดต้นทุน” ได้จริง และยังช่วยให้องค์กรได้คนที่มีคุณภาพ คือ การสร้างภาพลักษณ์นายจ้างที่ดี หรือ Employer Branding
ทำไม Employer Branding ถึงช่วยลดต้นทุนได้?
1.ดึงดูดผู้สมัครได้ “โดยไม่ต้องจ่ายแพง” องค์กรที่มีภาพลักษณ์ดี น่าสนใจในสายตาผู้สมัครงาน เช่น มีชื่อเสียงว่าใส่ใจพนักงาน สภาพแวดล้อมการทำงานดี โอกาสเติบโตชัดเจน เป็นต้น ผู้สมัครจะ “เข้ามาหางานกับบริษัทเอง” ผ่านการค้นหาออนไลน์ หรือจากการพูดถึงกันแบบปากต่อปาก ไม่ต้องลงทุนโฆษณามาก
ตัวอย่าง: บริษัทเทคโนโลยีที่พนักงานแชร์ประสบการณ์ทำงานผ่าน LinkedIn หรือ TikTok ทำให้คนเห็นแล้วอยากร่วมงานโดยไม่ต้องลงโฆษณามาก
2.ลดการพึ่งพา Recruitment Agency หรือช่องทางแบบเสียค่าใช้จ่ายสูง เมื่อคนรู้จักและไว้วางใจแบรนด์นายจ้าง บริษัทจะสามารถหาคนผ่านช่องทางของตัวเอง เช่น Social Media หรือเว็บไซต์บริษัท ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าใช้บริการเอเจนซี่ บางองค์กรในไทยเริ่มเปลี่ยนจากการลงประกาศในเว็บไซต์หางานราคาแพง มาทำ “แคมเปญเล่าเรื่องวัฒนธรรมองค์กร” บน Instagram แล้วได้ผู้สมัครที่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน
3.ลดต้นทุนจาก “อัตราการลาออก” (Turnover) ภาพลักษณ์ที่ชัดเจนช่วย “กรองคนที่ไม่ใช่” ตั้งแต่แรก เพราะคนที่สมัครเข้ามาจะรู้ว่าบริษัทเป็นแนวไหน มีค่านิยมแบบใด ถ้าเขารู้สึกว่าเข้ากันได้ ก็จะอยู่กับองค์กรได้นานขึ้น ลดต้นทุนในการสรรหาและอบรมคนใหม่ เช่น บริษัทที่เน้น work-life balance ชัดเจน มักได้ผู้สมัครที่ต้องการความยืดหยุ่น และมักอยู่ได้นานกว่า
4.ประหยัดเวลาของทีม HR คนที่สมัครเข้ามาจากภาพลักษณ์องค์กร มักเข้าใจวัฒนธรรมองค์กรมาก่อน ทำให้ขั้นตอนการสื่อสาร การสัมภาษณ์ และการตัดสินใจเร็วขึ้น ลดค่าใช้จ่ายแฝง เช่น ชั่วโมงการทำงานของ HR หรือต้นทุนต่อผู้สมัคร (Cost per Hire) หาก HR ใช้เวลาน้อยลงต่อการสรรหาหนึ่งคน องค์กรสามารถใช้ทรัพยากรไปกับการพัฒนา Talent ภายใน หรือการสร้างระบบ HR อื่นๆ ได้มากขึ้น
5.ได้คนที่ “ใช่” มากกว่า “เยอะ” การสื่อสารภาพลักษณ์องค์กรที่ชัดเจน จะช่วยกรองผู้สมัครตั้งแต่แรก คนที่เห็นว่าแนวทางขององค์กรไม่ตรงกับตัวเองอาจเลือกไม่สมัคร ซึ่งทำให้บริษัทไม่เสียเวลาในการคัดเลือกหรือสัมภาษณ์คนที่ไม่เหมาะส่งผลบวกในระยะยาวต่อ Employer Cost โดยรวม
เมื่อแบรนด์นายจ้างแข็งแรง จะส่งผลต่อทั้งต้นทุนการดึงดูด (Attraction), การรักษา (Retention), และการพัฒนา (Development) พนักงานอย่างเป็นระบบ ทำให้องค์กรไม่ต้องเสียเงินแก้ปัญหาจุดใดจุดหนึ่งซ้ำ
ช่องทางการสร้างภาพลักษณ์องค์กรที่ใช้ได้จริง
1.LinkedIn LinkedIn ไม่ใช่แค่ที่ประกาศงาน แต่เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้แสดงวัฒนธรรมองค์กรผ่าน Content เช่น
- – โพสต์เรื่องราวความสำเร็จของพนักงาน
- – ภาพกิจกรรมภายใน
- – Quote หรือบทสัมภาษณ์จากหัวหน้างานและพนักงาน
- – อัปเดตเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรหรือ CSR
2.TikTok / Instagram โซเชียลที่เข้าถึง Gen Z ได้ดี ควรใช้คอนเทนต์ที่สั้น กระชับ สนุก และเป็นธรรมชาติ เช่น
- – เบื้องหลังชีวิตพนักงาน
- – Vlog วันทำงานในแผนกต่างๆ
- – วัฒนธรรมในที่ทำงาน
- – Challenge หรือกิจกรรมที่พนักงานมีส่วนร่วม
3.Blog หรือเว็บไซต์บริษัท ยังเป็นช่องทางคลาสสิกที่เชื่อถือได้ เหมาะกับการเล่าเรื่องราวในเชิงลึก เช่น
- – เส้นทางการเติบโตของพนักงาน
- – บทความ How to สัมภาษณ์งาน
- – บทสัมภาษณ์คนในแผนกต่างๆ
- – นโยบายที่เป็นมิตรต่อพนักงาน เช่น การลาคลอด, Wellness Program
เคล็ดลับจากบริษัทญี่ปุ่นในไทยและองค์กรชั้นนำ
1.ใช้ “พนักงานจริง” เป็นพรีเซนเตอร์ หลายบริษัทญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรม เช่น โรงงานอิเล็กทรอนิกส์ หรือบริษัทเทคโนโลยี มักใช้วิดีโอสั้นที่ถ่ายในสถานที่จริง มีพนักงานพูดเล่าประสบการณ์ทำงาน สร้างความรู้สึก “จริงใจ” และ “เข้าถึงได้” มากกว่าการใช้ภาพโฆษณา
2.เปิดพื้นที่ให้พนักงานรุ่นใหม่เล่าเรื่องผ่านช่องทางของตัวเอง บางองค์กรในไทยใช้แนวคิด “Employee Influencer” เช่น ให้พนักงานเล่าประสบการณ์ผ่าน IG Story หรือ TikTok ส่วนตัว โดยไม่จำเป็นต้องใช้สคริปต์ เป็นการสื่อสารที่เป็นธรรมชาติและน่าเชื่อถือในสายตาคนรุ่นใหมแสดงความใส่ใจในสิ่งที่ Gen Z ให้ความสำคัญ
3.ไม่ใช่แค่เรื่องเงินเดือน แต่รวมถึงคุณค่าทางจริยธรรม ความหลากหลาย และการดูแลสุขภาพจิต องค์กรที่กล้าพูดถึงสิ่งเหล่านี้มักได้รับความสนใจมากขึ้น
Branding ที่ดี คือการ “เล่าเรื่องจริง” อย่างสร้างสรรค์ การสร้าง Employer Branding ที่ดี ไม่จำเป็นต้องลงทุนมหาศาลหรือใช้แคมเปญใหญ่เสมอไป แค่เริ่มจาก “เรื่องจริง” ขององค์กร ทั้งความสำเร็จ ความท้าทาย และความใส่ใจที่มีต่อพนักงาน ก็เพียงพอที่จะทำให้คนภายนอก “เห็น” และ “รู้สึก” อยากเป็นส่วนหนึ่งของทีม องค์กรที่ลงมือทำเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง จะค่อยๆ สร้างแบรนด์ที่แข็งแรง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความสำเร็จในการสรรหาพนักงาน ลดต้นทุนระยะยาว และเพิ่มศักยภาพของทีมได้อย่างยั่งยืน
ยกตัวอย่าง Case study Google
Google ใช้เวลาไม่ถึง 20 ปีในการพัฒนาจนเป็นหนึ่งในองค์กรที่ใหญ่และมีมูลค่ามากที่สุดในโลก โดยมีพนักงานกว่า 60,000 คนที่ทำงานใน 50 ประเทศทั่วโลก แม้ว่าจะมีหลายๆ คนอยากทำงานที่ google แต่โอกาสที่จะได้ทำงานนั้นมีเพียง 0.2% เท่านั้น
แล้วทำไมคนถึงอยากทำงานที่ Google
- เสนอเงินเดือนที่สูง และบริษัทก็ยังมีสวัสดิการอื่น ๆ ด้วย เช่น พ่อแม่มือใหม่สามารถลาหยุดได้สูงสุด 18 สัปดาห์โดยที่ยังคงได้รับค่าจ้างอยู่
- วัฒนธรรมการทำงาน เช่น ห้องบริการต่าง ๆ อย่าง ห้องนอน ที่สามารถมานอนได้ทุกเวลา ห้องเล่นเกม ส่งเสริมให้ใช้เวลาร่วมกับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ พื้นที่ออกกำลังกายไว้ให้พนักงาน อย่าง บริการฟิตเนส, ห้องตีปิงปอง, โต๊ะพลู Google เชื่อว่าเพราะพนักงานใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทำงาน พวกเขาจึงควรรู้สึกว่าเหมือนอยู่บ้าน ทั้งหมดนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อปรับปรุงคุณภาพงานสำหรับพนักงานทุกคน
- การให้ความสำคัญกับการพัฒนาตนเองของพนักงาน Google ใช้รูปแบบที่เรียกว่า 70/20/10 ซึ่งก็คือพนักงานแต่ละคนจะใช้เวลา 10% เพื่อการฝึกอบรม 20% เพื่อพัฒนาแนวคิดของตนเอง และ 70% ให้กับงานอื่นๆ ที่บริษัทมอบหมาย สิ่งนี้ทำให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนสำคัญของบริษัทและมีส่วนร่วมในความก้าวหน้าของบริษัท
ที่มา : Workventure
บริษัทจัดหางาน เพอร์ซันแนล คอนซัลแตนท์ฯ เราเป็นบริษัทจัดหางานญี่ปุ่นในกรุงเทพ ให้บริการจัดหางานและสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถทั้งชาวไทยและญี่ปุ่นมาเป็นเวลากว่า 30 ปี ท่านที่สนใจหางาน อยากทำงานบริษัทญี่ปุ่น ไทยและต่างชาติ ลงทะเบียนสมัครงานกับเพอร์ซันแนลฯ ฟรี!! ไม่มีค่าใช้จ่าย
ต้องการฝากประวัติ https://www.personnelconsultant.co.th/jobseeker/register_jobseeker/
สอบถามโทร 02-2608454 หรือส่งเรซูเม่ (ภาษาอังกฤษ) jobs@personnelconsultant.co.th